วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของประเทศไทย

               1.   ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

-      ปัญหาคุณภาพและการกระจายตัวของประชากร
-      ปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นตามเมืองใหญ่
-      ปัญหาคุณภาพและการกระจายตัวของประชากร
-      ปัญหามลพิษทางน้ำ ทางอากาศ ที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนเมืองใหญ่
-      ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่เกิดจากการทำเมืองแร่ การระบายน้ำเสียลงสู่ทะเล
-      ปัญหาสารพิษตกค้างในอาหารและสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้สารพิษกำจัดแมลงทางการเกษตร
-      ปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำจืดที่เกิดจากการทำลายป่าเพื่อการเกษตร การขยายตัวของชุมชนและเมืองต่าง ที่ก่อให้เกิดปัญหาแหล่งน้ำเสื่อมคุณภาพ
-      ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่เกิดจากการทำเมืองแร่ การระบายน้ำเสียลงสู่ทะเล
-      ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าหรือบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน
-      ปัญหาการเสื่อมโทรมของดิน
-      ปัญหาคุณภาพและการกระจายตัวของประชากร


                2.    ปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย

  1.     ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขปัญหาในภาคเหนือ
ปัญหาการบุกรุกทำลายป่า

            - สาเหตุเกิดจากการทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ และบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน การตัดไม้ทำลายป่าทำให้ดินเกิดการพังทลายและไม่มีความอุดมสมบูรณ์และทำให้แม่น้ำลำธารตื้นเขิน




2.              ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขภาคกลาง
ปัญหาการใช้ที่ดิน

          -      ใช้ที่ดินไม่เหมาะสมกับสภาพของดิน
          -      มีการปลูกพืชที่ทำลายความอุดมสมบูรณ์ของดิน


             3.     ปัญหาเกี่ยวกับการพังทลายของดิน

1.        ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ลาดเอียง ก่อให้เกิดการพังทลายของดินได้ง่าย
2.        ความรุนแรงของลักษณะภูมิอากาศ เช่น แห้งแล้งมาก ร้อนมาก หรือมีน้ำหลากในช่วงเกิดพายุดีเปรสชัน ก่อให้เกิดการพังทลายของดิน
3.        ลักษณะเนื้อดินเป็นหินทรายน้ำซึมผ่านได้ง่าย จึงเกิดการพังทลายได้
4.        ขาดพืชปกคลุ่มดินเนื่องจากไม่มีป่าไม้เหลืออยู่
             
                 4.     ปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง

            ภาคตะวันออกเฉียงเหนือขาดแคลนน้ำมากในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากพื้นดินเป็นดินปนทราย และมีพื้นที่ลาดเอียง ทำให้น้ำซึมอย่างรวดเร็วและไหลลงสู่แม่น้ำลำธารอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการพังทลายของดินทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน

-   ปัญหาการบุกรุกทำลายป่า
             ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีพื้นที่ป่าไม้น้อยมาก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร การกระจายตัวของประชากร และการเพาะปลูกที่ผิดหลัก จนเป็นเหตุให้เกิดการอพยพย้ายถิ่นเพื่อแสวงหาถิ่นทำกิน

-   ปัญหาการเติบโตของชุมชนเมือง
            ชุมชนเมืองใหญ่ ๆ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา เป็นต้น ก่อให้เกิดปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาขยะมูลฝอย ตามมามากขึ้น


            5.    ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางการแก้ไขปัญหาในภาคตะวันออก
                     ปัญหาการพังทลายของดิน

            ปัญหาการรับเอาวัฒนธรรมกระแสใหม่ในภาคตะวันออกกำลังพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ ก่อให้การดำเนินชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป เช่น การแต่งกาย การใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย

               6.     ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางการแก้ปัญหาในภาคตะวันตก
                          ปัญหาการพังทลายของดิน
            ภาคตะวันตกเป็นเขตภูเขา มักจะมีปัญหาการพังทลายของดินอย่างรุนแรง เนื่องจากการถางป่า โค่นป่า เพื่อเพาะปลูกแบบไร่เลื่อนลอย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ก่อให้เกิดความแห้งแล้งหรือน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากได้ง่าย

                7.     ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขปัญหาในภาคใต้
                           ปัญหาการสูญเสียป่าชายเลน 

             เป็นปัญหาที่เกิดจากการขยายตัวของเกษตรกรนากุ้งและการประมงชายฝั่ง
และปัญหานานานับไม่ถ้วน

                                     ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

ทรัพยากรธรรมชาติ    หมายถึง    สิ่งต่าง ๆ (สิ่งแวดล้อม) ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น บรรยากาศ ดิน น้ำ ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า แร่ธาตุ พลังงาน และกำลังแรงงานมนุษย์ เป็นต้น
   
-       เกิดจากความต้องการของมนุษย์ที่จะนำสิ่งแวดล้อมมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเอง
-       การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ถ้ายังไม่นำมาใช้ก็เป็นสิ่งแวดล้อม แต่ถ้านำมาใช้ประโยชน์            ได้ก็จะกลายเป็นทรัพยากรธรรมชาติในช่วงเวลานั้น ๆ
-       สภาพภูมิศาสตร์และความห่างไกลของสิ่งแวดล้อม ถ้าอยู่ไกลเกินไปคนอาจไม่นำมาใช้ ก็จะไม่สามารถแปรสภาพเป็นทรัพยากรธรรมชาติได้


                                    ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ        

1.               ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น    (Inexhaustible natural resources)

             1.1     ประเภทที่คงสภาพเดิมไม่เปลี่ยนแปลง     (Immutuable)   ได้แก่ พลังงานจากดวงอาทิตย์ ลม อากาศ ฝุ่น แม้กาลเวลาจะผ่านไปนานเท่าใดก็ตามสิ่งเหล่านี้ก็ยังคงมีไม่เปลี่ยนแปลง              1.2     ประเภทที่มีการเปลี่ยนแปลง    (Mutuable)    การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการใช้ประโยชน์อย่างผิดวิธี เช่น การใช้ที่ดิน การใช้นำโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านกายภาพ และด้านคุณภาพ

 2.   ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วทดแทนได้     (renewable natural resources)
            เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ไปแล้วสามารถเกิดขึ้นทดแทนได้ ซึ่งอาจจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กันชนิดของทรัพยากรธรรมชาติประเภทนั้น ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วทดแทนได้ เช่น พืช ป่าไม้ สัตว์ป่า มนุษย์ ความสมบูรณ์ของดิน คุณภาพของน้ำ และทัศนียภาพที่สวยงาม เป็นต้น

3.      ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้       (
Recycleable natural resources)
 เป็นทรัพยากรธรรมชาติจำพวกแร่ธาตุที่นำมาใช้แล้วสามารถนำไปแปรรูปให้กลับไปสู่สภาพเดิมได้ แล้วนำกลับมาใช้ใหม่อีก     เช่น    แร่โลหะ  แร่อโลหะ   ได้แก่   เหล็ก   ทองแดง   อะลูมิเนียม แก้ว ฯลฯ

4.       ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดสิ้นไป       (Exhausting natural resources)
 เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาใช้แล้วจะหมดไปจากโลกนี้ หรือสามารถเกิดขึ้นทดแทนได้ แต่ต้องใช้เวลายาวนานมาก ทรัพยากรธรรมชาติประเภทนี้ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินเป็นต้น





                                            
                                            ความหมายของสิ่งแวดล้อม

       สิ่งแวดล้อม     คือ    ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นรูปธรรม (สามารถจับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม    ตัวอย่างเช่น   วัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ    มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจร และ วัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ

                                        ประเภทของสิ่งแวดล้อม     

1.         สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

    ได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ แร่ธาตุ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัย อยู่บนโลก โดยเฉพาะพืชและสัตว์

2.         สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น   
              -           สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ อาคารบ้านเรือน ได้แก่ ยานพาหนะ ถนน เขื่อนกั้นน้ำ และสิ่งแวดล้อมทางสังคม ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมการแสดงออก

              -          สิ่งแวดล้อมทั้งหลายบนโลกจะมีความสัมพันธ์เป็นลูกโซ่ ฉะนั้นถ้าสิ่งแวดล้อมหนึ่งถูกทำลาย ก็จะ ส่งผลกระทบไปยังสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ด้วย 

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ผลกระทบจากขยะมูลฝอย

ปัญหาจากสภาพสิ่งแวดล้อมขยะมูลฝอย

         ขยะมูลฝอย เป็นตัวการสำคัญประการหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เมื่อมีขยะมูลฝอยจำนวนมาก แต่ชุมชนไม่สามารถเก็บขนและกำจัดขยะมูลฝอยได้อย่างหมดจดหรือจัดการขยะมูลฝอยอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ ดังนั้นขยะมูลฝอยจึงเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ดังนี้ คือ

        1. อากาศเสีย
เกิดจากการเผาขยะมูลฝอยกลางแจ้ง ก่อให้เกิดควันและสารพิษทางอากาศทำให้ คุณภาพอากาศเสื่อมโทรม

        2. น้ำเสีย
เกิดจากกองขยะมูลฝอยบนพื้น เมื่อฝนตกลงมาบนกองขยะมูลฝอยจะเกิดน้ำเสีย มีความสกปรกมาก ซึ่งจะไหลลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้เกิดภาวะมลพิษของแหล่งน้ำ

        3. แหล่งพาหะนำโรค
เกิดจากการกองขยะมูลฝอยบนพื้นเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวัน เป็นต้น ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน

        4. เหตุรำคาญและความไม่น่าดู
เกิดจากการเก็บขนขยะมูลฝอยไม่หมด รวมทั้งการกองขยะมูลฝอยบนพื้น ซึ่งจะส่งกลิ่นเหม็นรบกวนประชาชนและเกิดภาพไม่สวยงาม ไม่เป็นสุนทรียภาพ





มาดูปัญหาของขยะกันครับ